มีนาคม 11, 2565 |
โพสโดย : HOWDENMAXI
การประกันสุขภาพ ถือเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงทั้งด้านสุขภาพและด้านการเงิน เมื่อโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอาจจะมาโดยที่เราไม่คาดคิด การทำประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เราต้องสูญเสียเงินก้อนใหญ่ไปกับการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการเลือกซื้อประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวเอง ปัจจัยสำคัญที่เราควรจะต้องคำนึงถึงมีดังต่อไปนี้
ช่วงอายุใดที่แนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพ
ทุกช่วงอายุตั้งแต่เด็กไปจนผู้สูงอายุล้วนแล้วแต่มีโอกาสเจ็บป่วยด้วยความถี่และความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น เด็กเป็นช่วงวัยที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ ทำให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย วัยทำงาน ก็มีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ความคิดที่ส่งผลต่อโรคความดันสูง หรือผู้สูงวัยเป็นช่วงที่มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ดังนั้นเราควรซื้อประกันสุขภาพไว้ให้กับตัวเอง หรือคนที่เรารัก ไม่ว่าจะซื้อให้พ่อแม่ ลูก หรือคนในครอบครัว เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียเงินก้อนใหญ่ไปกับการรักษาพยาบาล แต่ที่สำคัญอย่าลืมว่าอายุที่สามารถทำประกันสุขภาพได้คือตั้งแต่แรกเกิด (14 วัน) ไปจนถึงอายุ 70 ปี ซึ่งหากมากกว่านี้จะไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้ เว้นแต่ได้ทำประกันในช่วงอายุ 14 วัน ถึง 70 ปี สามารถต่ออายุประกันได้ถึง 99 ปีกับบางบริษัทประกันภัย
ความคุ้มครองที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่
คนไทยได้รับความคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลภายใต้ 3 ระบบใหญ่คือ 1) สวัสดิการการรักษาพยาบาล 2) ประกันสังคม และ 3) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่การรักษาพยาบาลหรือยาที่ต้องใช้รักษาอยู่นอกบัญชียาหลัก หรือในกรณีที่เราต้องการการรักษาพยาบาลที่เกินกว่าที่รัฐหรือสวัสดิการที่บริษัทที่เราทำงานอยู่ให้ เราก็จะต้องแบกรับในส่วนของค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้นการทำประกันสุขภาพไว้ก็จะสามารถช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายตรงจุดนี้ได้
ประวัติสุขภาพของตัวเอง
ประกันสุขภาพควรซื้อในช่วงที่ยังมีสุขภาพดีอยู่ เนื่องจากโรคหรือภาวะที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-existing Conditions) จะไม่อยู่ในความคุ้มครอง หรือหากเป็นโรคร้ายแรง บริษัทประกันภัยก็อาจปฏิเสธการให้ความคุ้มครองหรือเพิ่มเบี้ยได้
ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว
โรคร้ายแรงที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติอาจส่งต่อให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานทางพันธุกรรมได้ เราควรประเมินความเสี่ยงของตนเองว่าจะสามารถเกิดโรคอะไรขึ้นได้บ้าง และป้องกันความเสี่ยงนั้นโดยการซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมกลุ่มโรคเหล่านี้ไว้
เลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง
สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นในการทำประกันสุขภาพ แนะนำให้ทำประกันสุขภาพคุ้มครองในส่วนผู้ป่วยใน (IPD) เป็นพื้นฐาน เนื่องจากการเจ็บป่วยถึงขนาดต้องแอดมิทในแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง สำหรับความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD) หรือแผนความคุ้มครองอื่นๆ ก็สามารถเลือกซื้อเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น แผนประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคไข้เลือดออก แผนประกันสุขภาพออฟฟิศซินโดรม หรือแผนประกันภัยอุบัติเหตุ เป็นต้น
ควรเลือกทำประกันกับบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือ ฐานะทางการเงินที่มั่นคงเพื่อรับประกันการบริหารจัดการที่ดีของบริษัท มีช่องทางการขายและการให้บริการที่หลากหลาย มีสาขาและเครือข่ายโรงพยาบาลที่ครอบคลุม บริการทั่วถึง และเข้าถึงง่าย นอกจากนี้เราควรศึกษาเงื่อนไขการเคลมประกันและบริการหลังการขาย รวมถึงระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชยจากการเรียกเคลมประกันด้วย
เราสามารถตรวจสอบสถานะความมั่นคงของบริษัทประกันได้ โดยการใช้ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันเป็นเกณฑ์ชี้วัด ซึ่งสามารถดูได้จาก “อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ Capital Adequacy Ratio (CAR)” ตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หรือเข้าไปที่ https://www.oic.or.th/en/industry/statistic/data/935/2
เบี้ยประกันที่เหมาะสมในการซื้อประกันสุขภาพ ไม่จ่ายเบี้ยเกินตัว
ควรพิจารณาเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสม ไม่มากไปหรือน้อยเกินไป โดยพิจารณาศักยภาพของตนเองว่าสามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ในระดับใด ซึ่งโดยปกติไม่ควรจะเกิน 10-15% ของรายได้รวมทั้งปี ตัวอย่างเช่น รายได้เดือนละ 30,000 บาท เมื่อคิดเป็นรายได้ต่อปีอยู่ที่ 360,000 บาท ดังนั้นเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง 36,000-54,000 บาท
หรือเลือกซื้อประกันที่ผู้เอาประกันมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาเพื่อให้ได้ค่าเบี้ยประกันที่ถูกลง ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจ่าย (Co-payment) คือการที่ประกันจะมีการระบุว่าในการเข้ารับการรักษาแต่ละครั้ง ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนร่วมจ่ายเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของค่ารักษาทั้งหมด หรือประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก (Deductible) คือประกันที่มีการระบุเงื่อนไขความคุ้มครองให้ผู้เอาประกันภัยต้องออกค่าใช้จ่ายในการรักษาส่วนหนึ่งเองหรือนำไปเบิกกับสวัสดิการหรือเบิกกับประกันสุขภาพเดิมที่มีส่วนหนึ่ง หากค่าใช้จ่ายเกินกว่าค่ารับผิดส่วนแรกที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ บริษัทผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วนเกินให้กับเรา ทำให้สามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันสุขภาพได้มากขึ้น หากมีวงเงินความรับผิดส่วนแรกมาก
โดยทั้งประกันสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจ่าย (Co-payment) และประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก (Deductible) มีข้อดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยที่ถูกกว่าประกันสุขภาพทั่วไป อีกทั้งสามารถใช้คู่กับประกันกลุ่มหรือประกันส่วนตัวได้ ทำให้เราได้จ่ายเบี้ยน้อยลงและยังได้รับความคุ้มครองแบบเต็มอิ่มอีกด้วย
โรงพยาบาลที่จะใช้บริการ
ควรสำรวจโรงพยาบาลที่เราจะใช้บริการหรือคาดว่าจะใช้บริการเพื่อทราบถึงค่าใช้จ่ายทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แต่แน่นอนว่าโรงพยาบาลเอกชนมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลรัฐ ยกตัวอย่างเฉพาะค่าห้องกรณีที่ต้องแอดมิท ราคาค่าห้องโรงพยาบาลรัฐบาลกรณีพักเดี่ยวเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาทต่อคืน แต่สำหรับเอกชนราคาค่าห้องเฉลี่ยต่อคืนไม่ต่ำกว่า 6,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ขณะทำการรักษาในโรงพยาบาล ที่สำคัญควรเลือกประกันสุขภาพที่มีโรงพยาบาลในเครือข่ายหลากหลาย จะได้ครอบคลุมความเสี่ยงด้านสุขภาพทุกพื้นที่
กรณีที่ซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพในประกันชีวิต
ควรเลือกผูกสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพกับกรมธรรม์ประกันชีวิตหลักที่ให้คุ้มครองในระยะยาว เพื่อให้การต่อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพรายปีเป็นไปอย่างราบลื่น ไม่ติดขัดเรื่องกรมธรรม์หลักสิ้นสุดความคุ้มครองแล้วไม่สามารถต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพได้
การประกันสุขภาพจึงเป็นเหมือนตัวช่วยที่จะดูแลเราทั้งด้านสุขภาพและการเงิน เราต้องมองในระยะไกลว่าถ้าเราเจ็บป่วยหรือเราแก่ชราลงแล้ว เรามีการวางแผนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไว้สำหรับตัวเราและคนในครอบครัวเพียงพอแล้วหรือยัง เพราะหากเรายังไม่พร้อม การซื้อประกันสุขภาพถือเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
ปรึกษา หรือสอบถามประกันสุขภาพได้ฟรี!!
โทร. 062 875 4269
อ้างอิง
https://www.oic.or.th/th/education/insurance/health
https://www.muangthai.co.th/th/article/health-insurance-tips-for-salaryman
https://www.hugsinsurance.com/article/hospital-admission-cost
การประกันสุขภาพ ถือเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงทั้งด้านสุขภาพและด้านการเงิน เมื่อโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอาจจะมาโดยที่เราไม่คาดคิด การทำประกันสุขภาพไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เราต้องสูญเสียเงินก้อนใหญ่ไปกับการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการเลือกซื้อประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับตัวเอง ปัจจัยสำคัญที่เราควรจะต้องคำนึงถึงมีดังต่อไปนี้
ช่วงอายุใดที่แนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพ
ทุกช่วงอายุตั้งแต่เด็กไปจนผู้สูงอายุล้วนแล้วแต่มีโอกาสเจ็บป่วยด้วยความถี่และความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น เด็กเป็นช่วงวัยที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ ทำให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย วัยทำงาน ก็มีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ความคิดที่ส่งผลต่อโรคความดันสูง หรือผู้สูงวัยเป็นช่วงที่มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย ดังนั้นเราควรซื้อประกันสุขภาพไว้ให้กับตัวเอง หรือคนที่เรารัก ไม่ว่าจะซื้อให้พ่อแม่ ลูก หรือคนในครอบครัว เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียเงินก้อนใหญ่ไปกับการรักษาพยาบาล แต่ที่สำคัญอย่าลืมว่าอายุที่สามารถทำประกันสุขภาพได้คือตั้งแต่แรกเกิด (14 วัน) ไปจนถึงอายุ 70 ปี ซึ่งหากมากกว่านี้จะไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้ เว้นแต่ได้ทำประกันในช่วงอายุ 14 วัน ถึง 70 ปี สามารถต่ออายุประกันได้ถึง 99 ปีกับบางบริษัทประกันภัย
ความคุ้มครองที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่
คนไทยได้รับความคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลภายใต้ 3 ระบบใหญ่คือ 1) สวัสดิการการรักษาพยาบาล 2) ประกันสังคม และ 3) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่การรักษาพยาบาลหรือยาที่ต้องใช้รักษาอยู่นอกบัญชียาหลัก หรือในกรณีที่เราต้องการการรักษาพยาบาลที่เกินกว่าที่รัฐหรือสวัสดิการที่บริษัทที่เราทำงานอยู่ให้ เราก็จะต้องแบกรับในส่วนของค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ดังนั้นการทำประกันสุขภาพไว้ก็จะสามารถช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายตรงจุดนี้ได้
ประวัติสุขภาพของตัวเอง
ประกันสุขภาพควรซื้อในช่วงที่ยังมีสุขภาพดีอยู่ เนื่องจากโรคหรือภาวะที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-existing Conditions) จะไม่อยู่ในความคุ้มครอง หรือหากเป็นโรคร้ายแรง บริษัทประกันภัยก็อาจปฏิเสธการให้ความคุ้มครองหรือเพิ่มเบี้ยได้
ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว
โรคร้ายแรงที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติอาจส่งต่อให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานทางพันธุกรรมได้ เราควรประเมินความเสี่ยงของตนเองว่าจะสามารถเกิดโรคอะไรขึ้นได้บ้าง และป้องกันความเสี่ยงนั้นโดยการซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมกลุ่มโรคเหล่านี้ไว้
เลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง
สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นในการทำประกันสุขภาพ แนะนำให้ทำประกันสุขภาพคุ้มครองในส่วนผู้ป่วยใน (IPD) เป็นพื้นฐาน เนื่องจากการเจ็บป่วยถึงขนาดต้องแอดมิทในแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง สำหรับความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD) หรือแผนความคุ้มครองอื่นๆ ก็สามารถเลือกซื้อเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น แผนประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคไข้เลือดออก แผนประกันสุขภาพออฟฟิศซินโดรม หรือแผนประกันภัยอุบัติเหตุ เป็นต้น
ควรเลือกทำประกันกับบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือ ฐานะทางการเงินที่มั่นคงเพื่อรับประกันการบริหารจัดการที่ดีของบริษัท มีช่องทางการขายและการให้บริการที่หลากหลาย มีสาขาและเครือข่ายโรงพยาบาลที่ครอบคลุม บริการทั่วถึง และเข้าถึงง่าย นอกจากนี้เราควรศึกษาเงื่อนไขการเคลมประกันและบริการหลังการขาย รวมถึงระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชยจากการเรียกเคลมประกันด้วย
เราสามารถตรวจสอบสถานะความมั่นคงของบริษัทประกันได้ โดยการใช้ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันเป็นเกณฑ์ชี้วัด ซึ่งสามารถดูได้จาก “อัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ Capital Adequacy Ratio (CAR)” ตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หรือเข้าไปที่ https://www.oic.or.th/en/industry/statistic/data/935/2
เบี้ยประกันที่เหมาะสมในการซื้อประกันสุขภาพ ไม่จ่ายเบี้ยเกินตัว
ควรพิจารณาเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสม ไม่มากไปหรือน้อยเกินไป โดยพิจารณาศักยภาพของตนเองว่าสามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ในระดับใด ซึ่งโดยปกติไม่ควรจะเกิน 10-15% ของรายได้รวมทั้งปี ตัวอย่างเช่น รายได้เดือนละ 30,000 บาท เมื่อคิดเป็นรายได้ต่อปีอยู่ที่ 360,000 บาท ดังนั้นเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง 36,000-54,000 บาท
หรือเลือกซื้อประกันที่ผู้เอาประกันมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาเพื่อให้ได้ค่าเบี้ยประกันที่ถูกลง ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจ่าย (Co-payment) คือการที่ประกันจะมีการระบุว่าในการเข้ารับการรักษาแต่ละครั้ง ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนร่วมจ่ายเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของค่ารักษาทั้งหมด หรือประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก (Deductible) คือประกันที่มีการระบุเงื่อนไขความคุ้มครองให้ผู้เอาประกันภัยต้องออกค่าใช้จ่ายในการรักษาส่วนหนึ่งเองหรือนำไปเบิกกับสวัสดิการหรือเบิกกับประกันสุขภาพเดิมที่มีส่วนหนึ่ง หากค่าใช้จ่ายเกินกว่าค่ารับผิดส่วนแรกที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ บริษัทผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วนเกินให้กับเรา ทำให้สามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันสุขภาพได้มากขึ้น หากมีวงเงินความรับผิดส่วนแรกมาก
โดยทั้งประกันสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจ่าย (Co-payment) และประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก (Deductible) มีข้อดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยที่ถูกกว่าประกันสุขภาพทั่วไป อีกทั้งสามารถใช้คู่กับประกันกลุ่มหรือประกันส่วนตัวได้ ทำให้เราได้จ่ายเบี้ยน้อยลงและยังได้รับความคุ้มครองแบบเต็มอิ่มอีกด้วย
โรงพยาบาลที่จะใช้บริการ
ควรสำรวจโรงพยาบาลที่เราจะใช้บริการหรือคาดว่าจะใช้บริการเพื่อทราบถึงค่าใช้จ่ายทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แต่แน่นอนว่าโรงพยาบาลเอกชนมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลรัฐ ยกตัวอย่างเฉพาะค่าห้องกรณีที่ต้องแอดมิท ราคาค่าห้องโรงพยาบาลรัฐบาลกรณีพักเดี่ยวเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,000 บาทต่อคืน แต่สำหรับเอกชนราคาค่าห้องเฉลี่ยต่อคืนไม่ต่ำกว่า 6,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ขณะทำการรักษาในโรงพยาบาล ที่สำคัญควรเลือกประกันสุขภาพที่มีโรงพยาบาลในเครือข่ายหลากหลาย จะได้ครอบคลุมความเสี่ยงด้านสุขภาพทุกพื้นที่
กรณีที่ซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพในประกันชีวิต
ควรเลือกผูกสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพกับกรมธรรม์ประกันชีวิตหลักที่ให้คุ้มครองในระยะยาว เพื่อให้การต่อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพรายปีเป็นไปอย่างราบลื่น ไม่ติดขัดเรื่องกรมธรรม์หลักสิ้นสุดความคุ้มครองแล้วไม่สามารถต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพได้
การประกันสุขภาพจึงเป็นเหมือนตัวช่วยที่จะดูแลเราทั้งด้านสุขภาพและการเงิน เราต้องมองในระยะไกลว่าถ้าเราเจ็บป่วยหรือเราแก่ชราลงแล้ว เรามีการวางแผนค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไว้สำหรับตัวเราและคนในครอบครัวเพียงพอแล้วหรือยัง เพราะหากเรายังไม่พร้อม การซื้อประกันสุขภาพถือเป็นคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
ปรึกษา หรือสอบถามประกันสุขภาพได้ฟรี!!
โทร. 062 875 4269
อ้างอิง
https://www.oic.or.th/th/education/insurance/health
https://www.muangthai.co.th/th/article/health-insurance-tips-for-salaryman
https://www.hugsinsurance.com/article/hospital-admission-cost